วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Chipset มีความสำคัญอย่างไร

Chipset คือ กลุ่มของชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์หรือชิป (Chip) ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานเป็นหน่วย โดยที่ Chipset นี้จะถูกติดตั้งอยู่บนแผลวงจรหลัก หรือ Mainboard เพื่อควบคุมการทำงานต่างๆบนแผงวงจรหลัก โดยสามารถกล่าวได้ว่า Chipset นี้เปรียบเสมือนหัวใจ หรือผู้จัดการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดบน Mainboard เลยทีเดียว

Chipset ทำหน้าที่อะไร
Chipset ทำหน้าที่ทั้งควบคุมการทำงานของกลวิธีในการเชื่อมต่อ ทั้งการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก หรืออุปกรณ์ Input/Output (I/O Devices) และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ อีกทั้งยังทำหน้าที่อื่นๆบน Mainboard ที่ CPU ไม่สามารถทำได้ เช่น การส่งข้อมูลจาก RAM ไปยัง CPU การควบคุมการรับ-ส่งผ่านข้อมูลของ Harddisk และ Optical drives ต่างๆ (CD-ROM, DVD, Bluray Drives) รวมถึงการรับ-ส่งข้อมูลของแผงวงจรอื่นๆ เช่น Display adaptor, AGP Card, Audio card, Network card และ Wireless network controller เป็นต้น
Chipset 

มีความสำคัญอย่างไร























ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ เรียกว่า ยุคของข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในด้านการเมืองหรือผู้ดำเนินงานด้านเศรษฐกิจสังคม ไม่ว่าจะเป็นนักบริหารอาวุโส หรือหัวหน้าแผนกงานขนาดเล็กวงการสังคมของเราทุกวันนี้ถือได้ว่าเป็นสังคมแห่งข่าวสารข้อมูล และนับวันก็จะมีแนวโน้มไปในทางนี้มากขึ้น              หากจะกล่าวถึงเครื่องมือที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลที่แพร่หลายมากที่สุดคงหนีไม่พ้น เครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้ง PC และ Notebook การที่จะได้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูความเร็วสูงเท่านั้น แต่ เทคโนโลยีและส่วนประกอบ อื่นๆด้วย ดังนั้น เทคโนโลยีที่จะใช้ต้องมีประสิทธิภาพสูง และสามารถรองรับความสามารถของซีพียูนั้นๆได้ ซึ่งส่วนที่จะทำหน้าที่เชื่อมเทคโนโลยีเหล่านั้นเข้าด้วยกันให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านั้น นั่นคือ Chipset ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมประสานส่วนต่างๆของเทคโนโลยีในเมนบอร์ดเข้าด้วยกันความหมายของ Chipset Chip Set เป็นคำผสมระหว่าง Chip และ Set ดังนี้ §        Chip คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ ที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัตถุรูปร่างสี่เหลี่ยม มีขาโลหะ ที่เป็นระยางออกมารอบๆ ตัว จำนวนขาโลหะที่ยื่นออกมาก็ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนในการออกแบบ และ หน้าที่ที่ถูกกำหนดในการใช้งาน §        Set หมายถึง กลุ่ม, หมวดหมู่, หรือสิ่งที่จัดมารวมกัน ดังนั้น ความหมายโดยรวมของ Chipset คือ กลุ่มของชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานเป็นหน่วย สำหรับควบคุมการทำงานต่างๆ ของเมนบอร์ด ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการของซีพียูและเป็นหัวใจในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดบน Mainboard พร้อมทั้งเป็นจุดศูนย์รวมของเทคโนโลยีอันทันสมัยทั้งหลาย หรือให้คำนิยามได้ดังนี้ “Chipset is Heart of the Mainboard”




หลักการทำงานและโครงสร้างของ Chipset
หลักการทำงานของ Chipset               โดยทั่วไป ชุดChipset จะประกอบด้วย Chip มากกว่า 1 Chip และ chipset แต่ละตัวจะมี transistor มากกว่า 1 ล้านตัว ซึ่งมีหลากหลายหน้าที่ โดยสรุปได้ดังนี้              1.       หลักการทำงานหลักของ Chipset คือควบคุมการทำงานและการเชื่อมต่อของการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก หรือ อุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก (input/output device) หรือ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ               2.       ทำหน้าที่ควบคุมและเป็นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆทุกอย่างที่ซีพียูไม่ได้ทำ เช่น การส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปยังซีพียู การส่งผ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ จากไดรฟ์ซีดีรอม รวมถึงการส่งข้อมูลของแผงวงจร (Card) ต่าง ๆ              3.       ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดความถี่ ให้แก่บัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ ซีพียู กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง            4.       สนับสนุนการทำงานของ Processor หลายตัว (Multi Processor) โดยที่วงจรควบคุมของ Chip Set จะทำหน้าที่ประสานงานการทำงานของ Processor ทั้งสอง ไม่ให้แต่ละ Processor รบกวนการทำงานของกันและกัน โดยทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการโดยเรียกการทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า SMP ( Symmetric Multiprocessing )โครงสร้างของ Chipset             โดยปกติอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนประกอบของเมนบอร์ด มักจะทำงานร่วมกันในลักษณะที่เรียกว่า "สอดประสานไปด้วยกัน (Synchronous)" โดยใช้ความถี่สัญญาณนาฬิกาเป็นหลัก และบนเมนบอร์ดจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนหนึ่งที่คอยทำหน้าที่ให้กำเนิดสัญญาณนาฬิกา ชิปเซตจะทำหน้าที่ช่วยจัดการ ในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อพ่วงกับเมนบอร์ด โดยแบ่งออกเป็น 2 โครงสร้าง คือ       1.       โครงสร้าง North Bridge และ South Bridge         2.       โครงสร้าง Accelerated Hub Architecture
 หน้าที่ของ Chipset ในส่วนของโครงสร้าง North Bridge
Chipset ที่ทำหน้าที่ในฝั่ง North Bridge คือ จะทำการควบคุมอุปกรณ์ RAM และ AGP ทำการเชื่อมต่อโดยตรงกับ CPU และ VGA Card หรือ AGP Card หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำแคช (Static RAM) และ Slot สำหรับต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อผ่าน PCI Bus ทั้งหมด ซึ่งถูกควบคุมผ่านสะพานทิศเหนือ จะเห็นว่า Chipset ในฝั่ง North Bridge เป็นอุปกรณ์หลัก ที่ทำหน้าที่ควบคุมของคอมพิวเตอร์
หน้าที่ของ Chipset ในส่วนของโครงสร้าง Southern Bridge
หน้าที่อื่นๆ ที่เหลือของ Chipset เป็นงานของ Southern Bridge ได้แก่ การควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) Hard disk, CD-ROM Drive , Slot IDE, USB, ACPI Controller และ Flash BIOS รวมทั้งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกับ ISA Bus ด้วย หน้าที่เพิ่มอีกอย่างหนึ่งของ Southern Bridge คือเป็นตัวควบคุม Power Management Controllers 
หน้าที่ของ Chipset ในส่วนของโครงสร้าง Accelerated Hub Architecture
หน้าที่ของชิปเซ็ตแบบ Accelerated Hub Architecture (AHA)คือเป็นสถาปัตยกรรมที่ผนวกตัวประมวลผลภาพและเสียงเข้าด้วยกัน รวมทั้งการแบ่งหน่วยความจำของระบบแบ่งปันไปให้ชิปประมวลผลกราฟิกใช้ ซึ่งจะมีโครงสร้างที่ คล้ายกับแบบ North Bridge , South Bridge แต่จะมี Firmware Hub ที่เป็นส่วน ที่ใช้เป็นระบบรักษาความปลอดภัย(Security) ให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาด้วย ชิปเซ็ตที่มีโครงสร้างแบบนี้จะมีระบบบัสแบบ PCI ที่เชื่อมต่อระหว่าง Graphics กับ I/O Controller นั้น ที่มีความกว้างของบัส 32 บิต ความเร็ว 66 MHz ทำให้มีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันถึง 264 MB./Sec ซึ่งถือว่าเร็วกว่าแบบ North Bridge , South Bridge ในปัจจุบันผุ้ผลิตส่วนใหย่นิยมออกแบบ Chipset ด้วยโครงสร้างของ AHA มากขึ้น เนื่องจาก AHA ช่วยลดปัญหาคอขวดของ PCI และเพิ่ม bandwidth ในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเท่าตัว และ เพิ่มขีดความสามารถในการโต้ตอบข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น  จะมี Chip หลักคือ GMCH : Graphic & Memory Controller Hub, ICH : I/O Controller Hub และ FWH : Firmware Hub
อนาคตของ Chipset
อนาคตของ Chipset
ในอนาคตชิปเซต อาจไม่จำเป็นต้องมี North bridge ซึ่งเคยเป็นดาวเด่นในโลกชิปเซตคอร์ลอจิคโดยเป็นตัวควบคุมแรม เมื่อ AMD และIntel จับตัวควบคุมหน่วยความจำรวมเข้าไปในซีพียู โดยจะจัดให้ PCI Express และกราฟฟิก เชื่อมต่อโดยตรงเข้าซีพียู ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ North bridge ในการเชื่อมต่อระหว่างเมนบอร์ดกับการ์ดแสดงผลรวมทั้ง South bridge อีกต่อไป                สำหรับในโลกของ Chip Set นั้น ยังมี Chip Set อีกหลายๆ ค่ายที่ไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปอีกมากมาย เช่น Motorola Chip Set, Phillips Chip Set, Toshiba Chip Set, NEC Chip Set, Texas Instrument Chip Set, Zylog Chip Set เป็นต้น และยังมี chipset อีกหลายประเภท เช่น Main board chipset, GPU  ( Graphics Processor Unit ) chipset, Mobile Chipset  เป็นต้น                ในอนาคตผู้ใช้อาจไม่ได้ต้องการซีพียูที่เร็วกว่าในตอนนี้ไปสักเท่าใหร่นัก แต่ต้องการการแสดงผลให้เร็วขึ้นคือ GPU หรือชิปกราฟิก เพราะงานที่ผู้ใช้ต้องการเช่น การชมภาพยนตร์, เร่งความเร็วเกม, และการเข้าบีบอัดภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดี มีมากขึ้นที สิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการ์ดแสดงผลนั้นคือ Chipset และหน่วยความจำ ที่ใช้ในการ์ดแสดงผล การเลือก Chipset ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของเรามากกว่า ถ้าต้องการซื้อการ์ดแสดงผลเพื่อจุดประสงค์ในการเล่นเกม 3 มิติ หรือการทำงานด้าน 3 มิติ หนัก ๆ เป็นหลัก ก็ควรเลือก Chipset ที่รองรับการทำงานด้าน 3 มิติ สูง ๆ ไม่ว่าจะเป็น OpenGL หรือ Direct 3D ส่วนเรื่องหน่วยความจำที่ใช้ในการ์ดแสดงผลที่เห็นในปัจจุบันมีตั้งแต่ขนาด 8 - 64 MB ชนิดของหน่วยความจำ
 ******ตัวอย่าง chipset ใหม่ในปี 2009******
******มารู้จัก Intel X58 Express Chipset ที่สนับสนุนโปรเซสเซอร์ตระกูล Intel® Core™ i7******
 Intel Core i7 เป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดที่ Intel ผลิตออกมา โดยCore i7 นั้นสามารถทำงานได้เสมือนว่ามีทั้งสิ้น 8 คอร์ มีออกมาทั้งหมดสามรุ่น ได้แก่
-          ตัวท็อป Core i7 965 Extreme Edition ความเร็ว 3.2 GHz สำหรับเกมเมอร์
-          Core i7 940 ความเร็ว 2.93 GHz
-          Core i7 920 ความเร็ว 2.6 GHz
Intel X58 Express Chipset : สนับสนุนโปรเซสเซอร์ตระกูล Intel Core i7 45nm รุ่นล่าสุดที่ความเร็ว 6.4 GT/s และ 4.8 GT/s ผ่านทาง Intel® QuickPath Interconnect (Intel® QPI) นอกจากนี้ ชิปเซ็ตนี้ยังให้การสนับสนุนการ์ดกราฟิก PCI Express* 2.0 Dual x16 หรือ Quad x8 และสนับสนุน Intel® High Performance Solid State Drive บน SKU สำหรับผู้บริโภคที่ใช้ ICH10 และ ICH10R
***คุณสมบัติและคุณประโยชน์อันโดดเด่นของ Intel X58 Express (www.intel.com)
Intel® QuickPath Interconnect (Intel® QPI) ที่ความเร็ว 6.4 และ 4.8 GT/s
ดีไซน์ระบบการเชื่อมต่อภายในล่าสุดของ Intel ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์และลดความหน่วงแฝงให้ต่ำลง
อินเตอร์เฟซ PCI Express 2.0
PCI Express 2.0 ช่วยมอบแบนด์วิดธ์สูงถึง 16 GB/s ต่อพอร์ตซึ่งสูงเป็นสองเท่าของ PCIe* 1.0 ซึ่งช่วยมอบประสิทธิภาพอันล้ำหน้าและความยืดหยุ่นด้วยการสนับสนุนการติดตั้งใช้งานการ์ดกราฟิก Dual X16 และ Quad X8 หรือการใช้งานแบบผสมกัน
Intel® High Definition Audio 
ระบบเสียงแบบอินทิเกรตช่วยให้ได้เสียงดิจิตอลคุณภาพสูงและมอบคุณลักษณะที่ล้ำหน้า เช่น การส่งข้อมูลเสียงแยกแบบหลายทาง และการปรับหน้าที่ในการทำงานของแจ็คแต่ละตัว
Intel® Matrix Storage Technology
บนระบบที่มีฮาร์ดไดร์ฟสองตัวหรือมากกว่านั้นจะมอบการเข้าถึงที่รวดเร็วไปยังภาพถ่ายดิจิตอล, วิดีโอ และไฟล์ข้อมูลด้วย RAID 0, 5 และ 10 และการป้องกันข้อมูลจากการล้มเหลวของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟด้วย RAID 1, 5 และ 10 อีกทั้งสนับสนุน external SATA* (eSATA) ซึ่งช่วยให้สามารถใช้งานอินเตอร์เฟซ SATA เต็มรูปแบบนอกแชสซีโดยมีความเร็วสูงถึง 3 Gb/s
Intel® Rapid Recover Technology
เทคโนโลยีป้องการข้อมูลล่าสุดของ Intel ที่จะมอบจุดกู้คืนที่สามารถใช้เพื่อกู้คืนระบบได้อย่างรวดเร็วหากเกิดความล้มเหลวของฮาร์ดไดร์ฟหรือมีการเสียหายของข้อมูลจำนวนมาก การถอดแบบข้อมูล (Clone) สามารถติดตั้งเป็นไดร์ฟอ่านอย่างเดียวได้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถกู้คืนไฟล์แต่ละไฟล์ได้
Intel® Turbo Memory
NAND cache ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของ Intel ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มการตอบสนองของแอพพลิเคชั่น, เวลาในการโหลดแอพพลิเคชั่น และประสิทธิภาพในการบู๊ตระบบ Intel® Turbo Memory เมื่อจับคู่กับชิปเซ็ต Intel® X58 Express จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมแอพพลิเคชั่นหรือข้อมูลในแคชได้อย่าง ง่ายดายด้วยการใช้อินเตอร์เฟซ Intel® Turbo Memory Dashboard ใหม่ซึ่งจะช่วยเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปอีกขั้น
Serial ATA  (SATA) 3 Gb/s
อินเตอร์เฟซจัดเก็บข้อมูลด้วยความเร็วสูงสนับสนุนอัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับการเข้าถึงข้อมูลที่ดียิ่งขึ้นมากถึง 6 พอร์ต SATA
eSATA
อินเตอร์เฟซ SATA ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้กับอุปกรณ์ SATA ภายนอก ซึ่งช่วยมอบการเชื่อมต่อที่ความเร็วข้อมูล 3 Gb/s เพื่อขจัดปัญหาคอขวดที่พบในโซลูชั่นการเก็บข้อมูลภายนอกในปัจจุบัน
สามารถปิดการใช้งาน SATA Port ได้
ช่วยให้พอร์ต SATA แต่ละพอร์ตสามารถเปิดการทำงานหรือปิดการทำงานได้อย่างที่ต้องการ คุณลักษณะนี้ช่วยเพิ่มการปกป้องข้อมูลโดยการป้องกันไม่ให้มีการลบหรือแทรกข้อมูลที่เป็นอันตรายผ่านทางพอร์ต SATA โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มีเป้าหมายที่พอร์ต eSATA
สามารถปิดการใช้งาน USB Port ได้
ช่วยให้พอร์ต USB แต่ละพอร์ตสามารถเปิดการทำงานหรือปิดการทำงานได้อย่างที่ต้องการ คุณลักษณะนี้ช่วยเพิ่มการปกป้องข้อมูลโดยการป้องกันไม่ให้มีการลบหรือสอดแทรกข้อมูลที่เป็นอันตรายผ่านทางพอร์ต USB
***สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก : http://www.intel.com/cd/products/services/apac/tha/chipsets/408036.htm
การเลือก Chipset ให้เหมาะต่อการใช้งาน
การเลือกใช้ Chipset
เมื่อเราพิจารณาแล้วว่าจะใช้ CPU จากค่ายใหนเราก็เลือกใช้ Main Board ที่สนับสนุน CPU นั้นโดยอาจต้องคำนึงถึง ชื่อของผู้ผลิต Main Board ด้วยเพราะถึงแม้ว่าจะใช้ Chipset เดียวกัน มีคุณสมบัติเหมือนกันแต่ก็มีประสิทธิภาพที่ต่างกันอีกทั้งยังมีเสถียรภาพที่ต่างกันด้วย ซึ่งในเรื่องของ เสถียรภาพนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเลือก Main Board เพราะ Main Board มีเสถียรภาพต่ำก็จำทำให้เครื่องคอมฯของเราหยุดทำงานบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งผู้ผลิตบางรายจะเน้นในเรื่องเสถียรภาพเป็นหลัก บางรายเน้นที่ความเร็วเป็นหลัก ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนที่เราจะพิจารณาซื้อ Mainboard ควรที่จะหาข้อมูลของ Mainboard ที่เราจะซื้อเพื่อมาพิจารณาก่อนว่ามีปัญหาหรือเปล่า ราคาเท่าไหร่ ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จาก นิตยสารคอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือบน Internet
หลักการพิจารณาเลือกซื้อ Chipset มีจุดสำคัญดังนี้
•  เป็นชิพเซ็ตสำหรับซีพียูรุ่นใด ซีพียูที่มีสถาปัตยกรรมต่างกันต้องการชิพเซ็ตที่แตกต่างกัน
•  รองรับความเร็งสูงสุดของบัสได้เท่าใด
•    รองรับการทำงานร่วมกับหลาย ๆ ซีพียูได้หรือไม่
•    รองรับการทำงานร่วมกับหน่วยความจำชนิดใด
•    รองรับการขยายขนาดความจุของหน่วยความจำได้สูงสุดที่เท่าไหร่
•   ความสามารถอื่น ๆ ซึ่งโดยมากมักจะไม่แตกต่างหรือมีผลต่อกันมากนัก เช่น รองรับ
•    ระบบบัส PCI หรือ PCI X รุ่นใด รองรับมาตรฐาน PCI Express หรือไม่
 บทสรุป
ซีพียูจะทำงานได้เต็มที่เพียงใดจะขึ้นอยู่กับการทำงานของส่วนประกอบอื่น ๆด้วย ซีพียูที่เร็วอาจถูกจำกัดให้ช้าลงด้วย Cache ที่ช้ากว่า หรือซีพียูและ RAM เร็วทั้งคู่อาจไม่สามารถติดต่อกันได้ทันหากระบบบัสมีความเร็วต่ำหรือมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งต้องพึ่งพาองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญอย่างมากบนเมนบอร์ด เป็นส่วนประกอบที่ติดตั้งมาให้แล้วอย่างถาวรอยู่บนเมนบอร์ด ไม่สามารถถอดหรือเปลี่ยนแปลงได้ นั่นคือ Chipset เป็นตัวกำหนดว่าเมนบอร์ดนี้
-          จะสามารถใช้กับ CPU ชนิดใดได้บ้าง
-          รองรับหน่วยความจำชนิดใดบ้าง
-          มี Slot ประเภทใดถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดได้
-          สามารถรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภทใดได้บ้าง
-          เป็นตัวกลางในการทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่าง CPU กับ หน่วยความจำ
-          ตัวควบคุมแคช(Cache Controller)
-          ตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (IDE Controller)
-          ตัวควบคุมบัส PCI
ในส่วนของ Chipset ผู้ผลิตจะต้องทำการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อรองรับการทำงานของ CPU และอุปกรณืใหม่ๆได้ ทั้งนี้ผู้ผลิตเองก็เริ่มที่จะนำแนวคิดกรีนโซลูชั่นมาใช้เป้นส่วนหนึ่ง ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงระบบความร้อน, ความเสถียรของระบบเพื่อถนอมอายุการใช้งานของส่วนประกอบและเพิ่มความสามารถในการประหยัดไฟฟ้าได้สูงสุด ในอนาคตอาจเป็นไปได้ที่หน้าที่ของ Chipset จะลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับส่วนอื่นต่อไป












1 ความคิดเห็น:

  1. Mysuru Casino - The HERZAMMAN
    Mysuru Casino - The Home of the www.jtmhub.com Best of the Slots! Visit us to novcasino Play the best bsjeon slots and enjoy the best table games septcasino.com in our casino. Visit 바카라 us

    ตอบลบ